วันเสาร์ที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2551

รวมลิงค์ ธนาคารที่ให้สินเชื่อบ้าน

ที่รวบรวมมาเป็นสถาบันการเงินที่มีเวปไซด์ และสามารถเข้าถึงได้ครับ และไม่ได้เรียงตามความหน้าเชื่อถือ หรืออะไรแต่อย่างไรครับ
ทดลองเข้าไปดูรายละเอียดและเงื่อนไขของทางสถาบันการเงินเหล่านี้ดูครับ ดูหลายๆที่ ค่อยๆพิจารณาครับ

* สินเชื่อธนาคารอาคารสงเคราะห์

ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.)

ศูนย์ลูกค้าสัมพันธ ์ Call Center โทรศัพท์ 0-2645-9000
Email : crm@ghb.co.th


* สินเชื่อบุคคลที่อยู่อาศัย

บมจ.ธนาคารกรุงไทย
เลขที่ 35 ถนนสุขุมวิท แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพ 10110
โทรศัพท์: 0-2255-2222 โทรสาร: 0-2255-9391-3 กรุงไทย


* สินเชื่อที่อยู่อาศัย

ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)

333 ถนนสีลม เขตบางรัก
กรุงเทพฯ 10500

โทรศัพท์: 1333 ,(66) 0-2231-4333
โทรสาร: (66) 0-2231-4742


* บริการสินเชื่อบุคคล (สินเชื่อบ้านกสิกรไทย)
บมจ.ธนาคารกสิกรไทย

1 ซอยกสิกรไทย ถนนราษฎร์บูรณะ กรุงเทพฯ 10140 ประเทศไทย

โทรศัพท์: 0-2888-8888 โทรสาร 0-2888-8882


* สินเชื่อบ้านกรุงศรี
ธนาคารกรุงศรีอยุธยาจำกัด (มหาชน)

1222 ถนนพระราม3 บางโพงพาง ยานนาวา กรุงเทพฯ 10120
โทร.1572

Email : webmaster@krungsri.com


* สินเชื่อเคหะนครหลวงไทย

ธนาคารนครหลวงไทยจำกัด (มหาชน)
1101 ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ แขวงมักกะสัน เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
SCIB Contact Center (662) 828 - 8000

Email : scibweb@scib.co.th


* บริการสินเชื่อบ้านผ่อนสบาย

ธนาคารทหารไทย จำกัด(มหาชน)
TMB Phone Banking โทร. 1558


* สินเชื่อเพื่อการเคหะ

ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)

9 ถนน รัชดาภิเษก เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900

ศูนย์บริการลูกค้าบุคคล 0 2777 7777


* สินเชื่อเคหะบุคคล

ธนาคารออมสิน

สำนักงานใหญ่
470 ถนนพหลโยธิน สามเสนใน เขตพญาไท
กรุงเทพ 10400

ติดตอสอบถาม โทร 1115 หรือ 0-2299-8000
E-mail news@gsb.or.th


* สินเชื่อบ้าน ยูโอบี โฮมโลน

ธนาคารยูโอบี จํากัด (มหาชน)

โทร. 0-2661-4900
โทร. 0-2285-1555

Email : webmaster@uob.co.th

การคัดเลือกผู้รับเหมาสร้างบ้าน

ทำอย่างไรจะได้ผู้รับเหมาดีๆ มาสร้างบ้านให้เรา
การคัดเลือกผู้รับเหมาสร้างบ้าน


ผู้รับเหมาควรเป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถด้านงานก่อสร้าง ทำงานได้อย่างถูกต้อง แม่นยำ เพราะความผิดพลาดในงานก่อสร้างนั้นนำไปสู่ความเสียหายทั้งเงินและเวลา

การเลือกผู้รับเหมาที่ดีควรพิจารณาดังนี้

1. ได้รับการแนะนำจากผู้ที่ไว้ใจได้ คือผู้รับเหมาที่ดี ลูกค้ามักจะแนะนำต่อๆ กันไป ซึ่งก็พอใช้เป็นข้อพิจารณาได้

2. มีที่อยู่ที่ตั้งเป็นหลักแหล่ง

3. มีผลงานที่น่าเชื่อถือ หรือเราได้ไปเห็นผลงานด้วยตัวเอง

4. ดูจากการประมูลราคา ว่าผู้รับเหมาได้แยกรายละเอียดต่างๆไว้เป็นหมวดหมู่ดูเข้าใจง่ายไหม สะดวกต่อการเพิ่มหรือลดรูปแบบ หรือรายละเอียดของอาคารในภายหลังไหม ( อันนี้ควรมีการพูดคุยกันไว้ก่อนและให้ทำรายการแยกมาเป็น ข้อๆ เพื่อสะดวกในการเพิ่มหรือลดงานในภายหลัง )



ในส่วนของผู้ว่าจ้างเองก็มีหน้าที่ที่จะต้องกระทำ คือ

1. ควรจะ ทำความเข้าใจกับแบบอาคารของตนเองด้วย มองให้ออกหรือเปรียบเทียบให้ได้ว่า ขนาดห้องต่างๆ ในแบบนั้นใหญ่หรือเล็กเกินไปกับการใช้งานของเราหรือไม่

2. ผู้ว่าจ้างควรตกลงและแจ้งผู้รับเหมาในกรณีที่ท่านต้องการจัดซื้อของบางอย่างเอง เช่น กระเบื้อง สุขภัณฑ์ ฯลฯ และควรจัดส่งของดังกล่าวเข้าพื้นที่ตามตารางเวลาการก่อสร้างของผู้รับเหมาด้วย

3. เรื่องการก่อสร้างที่ผิดไปจากแบบที่ได้รับใบอนุญาตปลูกสร้างมา อาจส่งผลกระทบได้หากเจ้าพนักงานจากทางราชการมาตรวจพบ และสั่งหยุดงานก่อสร้าง ทำให้ผู้รับเหมาได้รับผลกระทบเรื่องเงินหมุนเวียน และอาจถูกดำเนินคดีข้อหาสร้างผิดจากแบบ

4. ผู้ว่าจ้างควรชำระเงินงวดให้กับผู้รับเหมาให้ตรงเวลาทั้งนี้เพื่อให้ผู้รับเหมามีเงินหมุนเวียนที่จะใช้จ่ายค่าแรงและค่าวัสดุต่างๆ ให้งานสามารถดำเนินไปได้ด้วยดี



การแบ่งงวดการชำระเงิน

โดยทั่วไปมักแบ่งประมาณ 6 - 10 งวด แล้วแต่งปริมาณงาน

โดยควรดูให้ปริมาณเงินสัมพันธ์กับปริมาณงานด้วย

การแบ่งงวดงานการก่อสร้างนิยมแบ่งออกดังนี้ ( อาจมีการแบ่งแบบอื่นๆ แล้วแต่ตกลงกันก็ได้ )



งวดที่ 1
จ่าย 5- 10 % ของมูลค่างานก่อสร้าง เมื่อเซ็นสัญญาตกลงว่าจ้างผู้รับเหมา

งวดที่ 2
งานตอกเข็ม ขนย้ายเครื่องมือก่อสร้างเข้าพื้นที่ และสร้างบ้านพักคนงานแล้วเสร็จ

งวดที่ 3
งานตอม่อ คานคอดิน พื้นชั้นล่าง (หล่อในที่) เสาชั้นล่างแล้วเสร็จ

งวดที่ 4
งานคาน เสา พื้นชั้น 2 และงานโครงหลังคาแล้วเสร็จ

งวดที่ 5
งานมุงหลังคา งานก่ออิฐทั้งหมดแล้วเสร็จ

งวดที่ 6
งานติดตั้งวงกบ งานระบบไฟฟ้า สุขาภิบาล ส่วนเดินท่อร้อยสายแล้วเสร็จ

งวดที่ 7
งานฉาบปูนภายใน ภายนอก งานฝ้าเพดานภายนอกอาคารแล้วเสร็จ

งวดที่ 8
งานฝ้าเพดานภายในบ้าน งานปูพื้น งานติดตั้งประตู - หน้าต่าง งานทาสี รองพื้นแล้วเสร็จ

งวดที่ 9
งานระบบสุขาภิบาลภายนอก งานติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้า งานติดตั้งสุขภัณฑ์และอุปกรณ์ งานทาสีจริงแล้วเสร็จ

งวดที่ 10
ส่งงาน เคลียร์พื้นที่ ขนขยะเศษวัสดุก่อสร้าง ตรวจเช็คงานประปา และไฟฟ้าทั้งหมด

การคัดเลือกผู้รับเหมาสร้างบ้าน

ทำอย่างไรจะได้ผู้รับเหมาดีๆ มาสร้างบ้านให้เรา
การคัดเลือกผู้รับเหมาสร้างบ้าน


ผู้รับเหมาควรเป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถด้านงานก่อสร้าง ทำงานได้อย่างถูกต้อง แม่นยำ เพราะความผิดพลาดในงานก่อสร้างนั้นนำไปสู่ความเสียหายทั้งเงินและเวลา

การเลือกผู้รับเหมาที่ดีควรพิจารณาดังนี้

1. ได้รับการแนะนำจากผู้ที่ไว้ใจได้ คือผู้รับเหมาที่ดี ลูกค้ามักจะแนะนำต่อๆ กันไป ซึ่งก็พอใช้เป็นข้อพิจารณาได้

2. มีที่อยู่ที่ตั้งเป็นหลักแหล่ง

3. มีผลงานที่น่าเชื่อถือ หรือเราได้ไปเห็นผลงานด้วยตัวเอง

4. ดูจากการประมูลราคา ว่าผู้รับเหมาได้แยกรายละเอียดต่างๆไว้เป็นหมวดหมู่ดูเข้าใจง่ายไหม สะดวกต่อการเพิ่มหรือลดรูปแบบ หรือรายละเอียดของอาคารในภายหลังไหม ( อันนี้ควรมีการพูดคุยกันไว้ก่อนและให้ทำรายการแยกมาเป็น ข้อๆ เพื่อสะดวกในการเพิ่มหรือลดงานในภายหลัง )



ในส่วนของผู้ว่าจ้างเองก็มีหน้าที่ที่จะต้องกระทำ คือ

1. ควรจะ ทำความเข้าใจกับแบบอาคารของตนเองด้วย มองให้ออกหรือเปรียบเทียบให้ได้ว่า ขนาดห้องต่างๆ ในแบบนั้นใหญ่หรือเล็กเกินไปกับการใช้งานของเราหรือไม่

2. ผู้ว่าจ้างควรตกลงและแจ้งผู้รับเหมาในกรณีที่ท่านต้องการจัดซื้อของบางอย่างเอง เช่น กระเบื้อง สุขภัณฑ์ ฯลฯ และควรจัดส่งของดังกล่าวเข้าพื้นที่ตามตารางเวลาการก่อสร้างของผู้รับเหมาด้วย

3. เรื่องการก่อสร้างที่ผิดไปจากแบบที่ได้รับใบอนุญาตปลูกสร้างมา อาจส่งผลกระทบได้หากเจ้าพนักงานจากทางราชการมาตรวจพบ และสั่งหยุดงานก่อสร้าง ทำให้ผู้รับเหมาได้รับผลกระทบเรื่องเงินหมุนเวียน และอาจถูกดำเนินคดีข้อหาสร้างผิดจากแบบ

4. ผู้ว่าจ้างควรชำระเงินงวดให้กับผู้รับเหมาให้ตรงเวลาทั้งนี้เพื่อให้ผู้รับเหมามีเงินหมุนเวียนที่จะใช้จ่ายค่าแรงและค่าวัสดุต่างๆ ให้งานสามารถดำเนินไปได้ด้วยดี



การแบ่งงวดการชำระเงิน

โดยทั่วไปมักแบ่งประมาณ 6 - 10 งวด แล้วแต่งปริมาณงาน

โดยควรดูให้ปริมาณเงินสัมพันธ์กับปริมาณงานด้วย

การแบ่งงวดงานการก่อสร้างนิยมแบ่งออกดังนี้ ( อาจมีการแบ่งแบบอื่นๆ แล้วแต่ตกลงกันก็ได้ )



งวดที่ 1
จ่าย 5- 10 % ของมูลค่างานก่อสร้าง เมื่อเซ็นสัญญาตกลงว่าจ้างผู้รับเหมา

งวดที่ 2
งานตอกเข็ม ขนย้ายเครื่องมือก่อสร้างเข้าพื้นที่ และสร้างบ้านพักคนงานแล้วเสร็จ

งวดที่ 3
งานตอม่อ คานคอดิน พื้นชั้นล่าง (หล่อในที่) เสาชั้นล่างแล้วเสร็จ

งวดที่ 4
งานคาน เสา พื้นชั้น 2 และงานโครงหลังคาแล้วเสร็จ

งวดที่ 5
งานมุงหลังคา งานก่ออิฐทั้งหมดแล้วเสร็จ

งวดที่ 6
งานติดตั้งวงกบ งานระบบไฟฟ้า สุขาภิบาล ส่วนเดินท่อร้อยสายแล้วเสร็จ

งวดที่ 7
งานฉาบปูนภายใน ภายนอก งานฝ้าเพดานภายนอกอาคารแล้วเสร็จ

งวดที่ 8
งานฝ้าเพดานภายในบ้าน งานปูพื้น งานติดตั้งประตู - หน้าต่าง งานทาสี รองพื้นแล้วเสร็จ

งวดที่ 9
งานระบบสุขาภิบาลภายนอก งานติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้า งานติดตั้งสุขภัณฑ์และอุปกรณ์ งานทาสีจริงแล้วเสร็จ

งวดที่ 10
ส่งงาน เคลียร์พื้นที่ ขนขยะเศษวัสดุก่อสร้าง ตรวจเช็คงานประปา และไฟฟ้าทั้งหมด

รายละเอียดประกอบการเขียนแบบเพื่อยื่นขออนุญาตก่อสร้างอาคาร

มาตรฐานเบื้องต้นที่ควรมีในแบบเพื่อใช้ยื่นขออนุญาตปลูกสร้างกับทางราชการ

รายละเอียดประกอบการเขียนแบบเพื่อยื่นขออนุญาตก่อสร้างอาคาร
ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง ควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ. 2522 หมวด 3 แผนผัง แบบก่อสร้าง รายการประกอบแบบ และรายการคำนวณ
ข้อ 11 แผนผังให้ใช้มาตราส่วนไม่เล็กกว่า 1 ใน 500 แสดงขอบเขตที่ดินบริเวณติดต่อ และขอบนอกของอาคารที่มีอยู่แล้วกับอาคารที่ขอรับอนุญาตปลูกสร้างใหม่ ด้วยลักษณะเครื่องหมายต่างกันให้ชัดเจนพร้อมส่วนลาด
ข้อ 12 ในแผนผังให้แสดงทางสาธารณะที่ติดต่อกับที่ดินปลูกสร้างและทางระบายน้ำ ออกจากอาคารที่จะปลูกสร้างจนถึงทางระบายน้ำสาธารณะ และตามแนวทางระบายน้ำนั้นให้แสดงเครื่องหมายชี้ทิศทางน้ำไหลพร้อมด้วยส่วนลาด
ข้อ 13 ในแผนผังให้แสดงระดับของพื้นชั้นล่างของอาคารและความสัมพันธ์กับระดับถนนสาธารณะหรือระดับพื้นดินที่ปลูกสร้าง
ข้อ 14 แบบก่อสร้างให้ใช้มาตรส่วนไม่เล็กกว่า 1 ใน 100 แสดงผังฐานรากอาคารผังพื้นชั้นต่าง ๆ ของอาคาร รูปด้าน รูปตัด ทางขวางและรูปตัดทางยาวไม่ต่ำกว่าสองด้าน รูปรายละเอียดส่วนสำคัญขนาด และเครื่องหมายแสดงวัตถุก่อสร้างอาคารชัดเจนพอที่จะคิดรายการ และสอบรายการคำนวณได้แบบก่อสร้างแสดงรูปด้านและแผนพื้นชั้นต่าง ๆของอาคารโรงงานอุตสาหกรรมจะใช้มาตราส่วนไม่เล็กกว่า 1ใน 200 ก็ได้
ข้อ 15 แบบก่อสร้างอาคารพาณิชย์ อาคารสาธารณะ หรืออาคาร ที่ก่อสร้างด้วยวัตถุถาวรและวัตถุทนไฟเป็นส่วนใหญ่ให้แนบราย การคำนวณกำลังของส่วนสำคัญต่าง ๆ ของอาคารไว้โดยครบถ้วนแบบก่อสร้างอาคารพิเศษนอกจากต้องปฎิบัติตามกฎหมายที่มีข้อกำหนดควบคุมอยู่โดยเฉพาะแล้วให้แสดงรายการคำนวณโดยละเอียด
ข้อ 16 แบบก่อสร้างสำหรับต่อเติมหรือดัดแปลงอาคารที่มีอยู่แล้วให้แสดงแบบของส่วนเก่าและส่วนที่จะต่อเติมหรือดัดแปลง ให้ชัดเจนต่างกัน
ข้อ 17 อาคารชั่วคราวเพื่อประโยชน์ในการปลูกสร้างอาคารถาวร หรือเพื่อประโยชน์อย่างอื่นจะเสนอแบบก่อสร้างเป็นแบบสังเขปก็ได้ อาคารประเภทนี้ผู้ได้รับอนุญาตต้องรื้อถอนไปให้เสร็จสิ้นภายในกำหนดอายุหนังสืออนุญาตนั้น ถ้ายังจำเป็นต้องใช้อยู่ต่อไป ให้ต่ออายุได้เป็นคราว ๆ ไม่เกินคราวละหกเดือนข้อ 18 รายการก่อสร้างให้แสดงลักษณะของวัตถุก่อสร้างอันเป็นส่วนประกอบสำคัญของอาคารโดยละเอียดชัดเจน
ข้อ 19 มาตราส่วน ขนาด ระยะ น้ำหนักและหน่วยการคำนวณต่าง ๆ ของแผนผัง แบบก่อสร้าง รายการก่อสร้าง หรือรายการคำนวณนั้นให้ใช้มาตราเมตริก
ข้อ 20 แผนผัง แบบก่อสร้าง และรายการก่อสร้าง ให้ลงรายมือชื่อและแจ้งสำนักงานหรือที่อยู่ของผู้กำหนดแผนผัง ออกแบบก่อสร้าง ทำรายการก่อสร้าง และคิดรายการคำนวณไว้ด้วย หรือคุณวุฒิและใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ

เอกสารในการยื่นขออนุญาตปลูกสร้างอาคารพักอาศัย

ติดต่อกับทางราชการไม่ยุ่งยากอย่างที่คิด

เอกสารในการยื่นขออนุญาตปลูกสร้างอาคารพักอาศัย
ข้อแนะนำการขออนุญาตก่อสร้างอาคาร

สถานที่ติดต่อขออนุญาตก่อสร้างอาคาร

ในเขตกรุงเทพมหานครฯ.
การยื่นแบบขออนุญาตก่อสร้างอาคารในกรุงเทพ ฯ สามารถยื่นขอได้ที่
1. ณ ที่ว่าการเขตท้องที่ที่สถานที่ทำการก่อสร้างอาคารขึ้นอยู่โดยจะต้องเป็น อาคารพักอาศัย อาคารตึกแถว หอพัก แฟลต อาคารชุด สำนักงาน โกดัง ทาวน์เฮาส์ คอนโดมิเนียม ห้องแสดงสินค้า อาคารพาณิชย์ ทั้งนี้เฉพาะที่สูงไม่เกิน 4 ชั้น และอาคารเลี้ยงสัตว์ อาคารชั่วคราว สะพานไม้ เขื่อน หอถังเก็บน้ำ รั้ว ป้าย แผงลอย และถนน
2. ณ กองควบคุมอาคาร สำนักการโยธา อาคารสาธารณะ อาคารพิเศษ หรืออาคารอื่นใดนอกจากข้อ 1

สำหรับต่างจังหวัด
การยื่นแบบขออนุญาตก่อสร้างอาคารในต่างจังหวัด สามารถยื่นขอได้ที่
1. ในเขตเทศบาล ให้ยื่น ณ ที่ทำการเทศบาล สำนักการช่าง ของแต่ละพื้นที่
2. นอกเขตเทศบาลให้ยื่นกับหน่วยงานบริการของแต่ละพื้นที่ เช่น อบต.
การขออนุญาตปลูกสร้างบ้าน-อาคาร

หลักฐานการขออนุญาต

- หนังสือขออนุญาตปลูกสร้าง ( ขอรับได้ที่สำนักการช่าง หรือหน่วยงานราชการที่รับผิดชอบในแต่ละพื้นที่ )
- สำเนาภาพถ่ายโฉนดที่ดิน /น.ร.3 / สด. (กรณีที่ติดจำนองให้ผู้รับจำนองยินยอมด้วย)
- หนังสือยินยอมของเจ้าของที่ดิน (กรณีเจ้าของอาคารก่อสร้างในที่ดินของผู้อื่น)
- สำเนาทะเบียนบ้าน
- สำเนาภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชน
- แบบแปลนแผนผังและรายการประกอบแบบ รายการคำนวณ 1 ชุด กรณีพื้นที่อาคารทั้งหมดเกิน 150 ตรม.
- หนังสือยินยอมเจ้าของที่ดินข้างเคียง ในกรณีใช้ผนังร่วมกัน พร้อมสำเนาภาพถ่ายบัตรประจำตัวระชาชน และสำเนาภาพถ่ายโฉนดที่ดิน
- หนังสือรับรองผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม วิชาชีพสถาปัตยกรรมควบคุม กรณีพื้นที่อาคารทั้งหมดเกิน 150 ตรม.
- หนังสือรับรองของผู้ควบคุมงาน ถ้าเป็นบ้านพักอาศัยเจ้าของบ้านสามารถเซ็นรับรองเองได้
- หนังสือมอบอำนาจในกรณีให้ผู้อื่นดำเนินการแทน
- สำเนาเอกสารต้องมีลายเซ็น ชื่อเจ้าของบ้านกำกับทุกแผ่น

พิจารณาก่อนการซื้อที่ดิน / บ้าน

พิจารณาให้รอบครอบก่อนตัดสินใจ
ข้อควรพิจารณาก่อนการซื้อที่ดิน / บ้าน
1.เส้นทางการจราจร ควรคำนึงถึงเส้นทางที่ใช้เป็นประจำเป็นหลัก เช่น สะดวกในการเข้าถึงที่ทำงาน โรงเรียนของลูกๆ ระหว่างทางกลับมีตลาดหรือห้างสรรพสินค้าที่สามารถจับจ่ายใช้สอยซื้อของที่ใช้ในชีวิตประจำวันได้สะดวก 3 สิ่งนี้น่าจะเป็นหลักแรกๆ ในการเลือกทำเลที่พักอาศัย เพราะต้องใช้ประจำเกือบทุกวัน ถ้า 3 สิ่งนี้อยู่กันคนละทิศละทางเลย ก็คงจะสร้างความลำบากกายลำบากใจในการใช้ชีวิตมาก เพราะเวลาของชีวิตและครอบครัวคงจะหมดไปกับการเดินทางเสียเป็นส่วนใหญ่
2.ระบบสาธารณูปโภคต่างๆ เช่น ระบบประปา ระบบไฟฟ้า ระบบโทรศัพท์ ระบบทางระบายน้ำทิ้งสาธารณะ การบริการเก็บขยะสิ่งปฏิกูล ต่างๆ พร้อมใช้งานหรือไม่ ไม่ควรเชื่อว่าผู้ประกอบการจะมาจัดการให้ภายหลัง
3.โซนของพื้นที่ และสภาพแวดล้อมโดยส่วนรวม โซนของพื้นที่ คือ ดูว่าบริเวณพื้นที่ที่เราจะปลูกบ้านนั้น อยู่ในโซนใดของแผนผังการใช้ที่ดิน เพื่อที่จะได้รู้แนวโน้มของอาคารรอบๆเราและสภาพแวดล้อมในอนาคต และดูว่าอาคารรอบๆ เป็นอาคารประเภทใดสิ่งแวดล้อมโดยรวมเหมาะสมที่จะอยู่อาศัยหรือไม่ ทั้งนี้รวมถึงผู้คนโดยรอบด้วย
4.อื่นๆ ที่จะต้องใช้บ้างเป็นบางครั้ง เช่น สวนสาธารณะ วัด สถานพยาบาล สถานที่ราชการ ฯลฯ. ซึ่งนับเป็นความจำเป็นรองลงมา แต่ก็ไม่ควรมองข้าม
5.ตรงกับพื้นที่ที่จะมีการเวนคืนที่ดินเพื่อทำสาธารณะประโยชน์ใดๆหรือเปล่า
แผนผังการใช้ที่ดินกรุงเทพมหานคร =>> http://www.bma.go.th/map2/m1.html
6.ตรวจสอบรายละเอียดของผู้ประกอบการ และหรือนายหน้าโดยละเอียด ว่ามีประวัติมาอย่างไรน่าเชื่อถือหรือไม่ แค่ไหน
7. อย่างหลงเชื่อคำโฆษณา แต่ควรตรวจสอบโดยละเอียด

วันศุกร์ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2551

กว่าจะเป็นบ้าน

อยากจะมีบ้านสักหลังต้องทำอย่างไร ?
ขั้นตอนการก่อสร้างบ้านสามารถสรุปได้ดังต่อไปนี้

1. เจ้าของบ้านหาที่ดินสำหรับปลูกบ้าน
2. หาแบบบ้านที่ใกล้เคียงหรือตรงกับความต้องการ แบบแปลนและรูปร่างหน้าตาของบ้านสามารถหาได้จากสื่อที่เกี่ยวกับบ้านพักอาศัยต่างๆ เช่น หนังลือรวมแบบบ้าน นิตยสารบ้าน บ้านตัวอย่าง หรือบ้านที่ท่านเห็นแล้วชอบใจและสามารถถ่ายรูปเก็บไว้ได้
3. ว่าจ้างพนักงานเขียนแบบเพื่อใช้ขออนุญาตกับทางราชการ และใช้ก่อสร้าง โดยเขียนแบบบ้านให้เป็นไปตามความต้องการของเจ้าของบ้านอาจมีการปรับแบบแปลนที่ได้จากข้อ 2.ด้วยก็ได้
4. ถ้าเป็นอาคารที่อยู่ในข่ายควบคุม ตาม พ.ร.บ วิชาชีพวิศวกรรมควบคุม จะต้องมีหนังสือรับรองจากผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม และลายเซ็นในแบบที่จะใช้ขออนุญาตปลูกสร้างทุกแผ่น พร้อมรายการคำนวณโครงสร้าง 1 เล่ม ที่มีลายเซ็นวิศวกรทุกหน้า
5. ถ้าเป็นอาคารที่อยู่ในข่ายควบคุม ตาม พ.ร.บ วิชาชีพสถาปัตยกรรมควบคุม จะต้องมีหนังสือรับรอง จากผู้ประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรมควบคุม
และลายเซ็นในแบบที่จะใช้ขออนุญาตปลูกสร้างทุกแผ่น
6. ยื่นคำร้องขออนุญาตก่อสร้างอาคารตามแบบฟอร์มที่ทางราชการกำหนด พร้อมกับเอกสารต่างๆ และแบบพิมพ์ ที่มีลายเซ็นสถาปนิก วิศวกร สำหรับผู้ควบคุมงานก่อสร้าง บ้านพักอาศัยเจ้าของสามารถเซ็นควบคุมงานเองได้
7. รอการอนุมัติให้ปลูกสร้างได้จากทางหน่วยงานของราชการไม่เกิน 45 วัน
8. การหาผู้รับจ้างในการก่อสร้าง และตกลงราคาให้เรียบร้อย พร้อมเซ็นสัญญาให้รอบครอบ ( ในระหว่างรองใบอนุญาต )
9. ถ้าต้องการยื่นกู้สินเชื่อให้นำใบอนุญาตปลูกสร้างที่ได้จากทางราชการ สัญญาว่าจ้างให้ก่อสร้าง และหลักฐานต่างๆ ตามที่ธนาคารกำหนดยื่นขอสินเชื้อ
10. เมื่อได้อนุมัติสินเชื่อ ให้ดำเนินการก่อสร้างให้เป็นไปตามแบบ ควบคุมงานอย่างใกล้ชิด และเบิกจ่ายค่างวดงานให้ตรงกับสัญญา
11. รับส่งมอบบ้าน การรับส่งมอบบ้านนั้นทางเจ้าของบ้านต้องตรวจสอบให้เป็นที่เรียบร้อยก่อนว่า ทุกอย่างเป็นไปตามความต้องการของเจ้าของบ้านและงานทุกอย่างเสร็จเรียบร้อยพร้อมใช้งาน
12. ยื่นขอบ้านเลขที่ มิเตอร์ไฟฟ้า มิเตอร์ประปา และโทรศัพท์
13. เข้าอยู่อาศัย